วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ชนเผ่าลัวะหรือละว้า: ชนเผ่าลัวะหรือละว้า
ชนเผ่าลัวะหรือละว้า: ชนเผ่าลัวะหรือละว้า: ประวัติความเป็นมาของชนเผ่าละว้าหรือลัวะ ประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว ก่อนที่พวกมอญจะนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่เขตลุ่มน้ำปิง บรรพบุรุษ ของ...
ชนเผ่าลัวะหรือละว้า
ประวัติความเป็นมาของชนเผ่าละว้าหรือลัวะ
ประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว ก่อนที่พวกมอญจะนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่เขตลุ่มน้ำปิง บรรพบุรุษ ของละว้า ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่แล้ว ละว้าหรือที่คนไทยภาคเหนือเรียกว่า “ลัวะ” นั้น เป็นกลุ่มชนออสโตรนีเซียนและเรียกตัวเองว่า “ละเวียะ” ถิ่นกำเนิดที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เป็นที่เชื่อกันว่าอพยพมาจากทางตอนใต้ของไทย มลายา หรือ เขมร เมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว บางคนเชื่อว่า พวกลัวะ เป็นเชื้อสายเดียวกับพวกว้าที่อยู่ทางภาคเหนือของเมียนมาร์และตอนใต้ของมณฑลยูนนานในประเทศจีน เพราะมีความคล้ายคลึงกันทางด้านภาษา ลักษณะรูปร่างและการแต่งกาย
ลัวะ หรือละว้า
เป็นเจ้าของถิ่นเดิมภาคเหนือก่อนที่ไทยเราจะอพยพลงมาสู่แคว้นสุวรรณภูมิ
ตามตำนานของเชียงรายได้บันทึกไว้ว่า ชาวละว้าเคยมีอำนาจปกครองไทยสมัยหนึ่ง
แต่ต่อมาภายหลังได้เกิดการต่อสู้รบพุ่งกัน
ไทยประสบชัยชนะได้ฆ่าฟันขับไล่และทำลายล้างชาติละว้า
ชาวละว้าหรือลัวะเป็นจำนวนไม่น้อยที่หนีกระจัดกระจายไปอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่
ลำพูน ลำปาง อาศัยอยู่ในบริเวณห่างไกลจากเขตเจริญ
โดยตั้งบ้านเรือนรวมกันเป็นหมู่บ้านเฉพาะพวกของเขา
พวกลัวะได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมืองเชียงใหม่ เมื่อประมาณ 900 ปีมาแล้ว พวกมอญจากลพบุรีซึ่งเป็นผู้สร้างเมืองลำพูนและลำปาง ได้รุกรานพวกลัวะจนต้องหนีไปอยู่บนภูเขากลายเป็นชาวเขาไป ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 ชนชาติไทยได้อพยพเข้าสู่ดินแดนแถบนี้ และตีพวกมอบแตกพ่ายไปและมีสัมพันธไมตรีกับพวกลัวะ พวกลัวะเองก็เชื่อว่า
บรรพบุรุษของเขาเคยอาศัยอยู่ในเชียงใหม่ และเป็นผู้สร้างวัดเจดีย์หลวงก่อนที่ไทยจะเข้าสู่ดินแดนแถบนี้ ลัวะมีกษัตริย์ของตนเอง และองค์สุดท้ายคือขุนหลวงวิลังก๊ะ ซึ่งถูกพระนางจามเทวี กษัตริย์มอบแห่งนครหริกุญชัย (ลำพูน)
ตีแตกพ่ายไปอยู่บนป่าเขามีลัวะบางส่วนที่อาศัยอยู่พื้นราบ แต่พวกนี้รับวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ
จากคนไทยจนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเองไปเกือบหมดแล้ว
ภาษา
ภาษาของลัวะจัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตร-เอเซียนติด และได้รับอิทธิพลจากภาษาของพวกมอญ – เขมรด้วย ภาษาของลัวะมีแตกต่างกันหลายกลุ่ม แต่แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่
ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือกลุ่ม
วาวู ใช้พูดกันในหมู่ลัวะ เขตลุ่มน้ำปิง เช่น บ้านบ่อหลวง อีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มอังกา ใช้พูดกันในเขตตะวันตก เขต
อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ความแตกต่างกันของภาษานี้ จะต่างกันไปตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างกัน แต่สามารถเข้าใจกันได้ นอกจากนี้ยังนำคำในภาษาไทยพื้นเมืองทางเหนือไปใช้เป็นจำนวนมาก ทั้งยังสามารถพูดภาษาไทยได้ด้วย
ประชากร
ประชากรลัวะในประเทศมี 65 หมู่บ้าน
4,178 หลังคาเรือน ประชากร 21,794 คน คิดเป็นร้อยละ 2.38 ของประชากรชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย โดยกระจายตัวกันอยู่ตามจังหวัดต่าง
ๆ 6 จังหวัด คือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี สุพรรณบุรี เชียงราย และลำปาง
การแต่งกาย
การแต่งกาย ชาวถิ่นไม่มีการทอผ้า
จะซื้อเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจากภายนอก ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น ตามแบบชาวไทลื้อ
สวมเสื้อ 2 ตัว
ตัวในเป็นเสื้อคอกลมแขนสั้นหรือไม่มีแขน (บางทีใช้เสื้อผ้าลายเรียกว่า เสื้อดอก)
และสวมเสื้อแขนยาวทับเป็นเสื้อชั้นนอก เรียกว่า “เสื้อดำ”
(เป็นเสื้อฝ้ายหรือเสื้อสีม่อฮ่อม) จะใช้ผ้าขาวม้าพันศีรษะ เรียกว่า
“ผ้าหัว” ผู้ชาย
จะแต่งกายเหมือนชายไทยทั่วไป สวมกางเกงขายาวหรือเสื้อตามสมัยนิยมอาชีพ ทำไร่ข้าว
ข้าวโพด ปลูกพืชผักบางอย่าง หาของป่าล่าสัตว์ ไว้บริโภคในครัวเรือน
ถ้าผลผลิตมีจำนวนมากก็จะขายในหมู่บ้าน
อย่างอื่นก็มีการเก็บก๋ง(ดอกหญ้าที่ใช้ทำไม้กวาด)เก็บใบเมี่ยง(ชาป่า)
การเลี้ยงสัตว์นิยมเลี้ยงหมู ไก่ สุนัข ม้า ควาย
ด้านงานหัตถกรรมผู้ชายคนมีฝีมือด้านการจักสาน ตะบุง ตะกร้า
ช่วงหมดฤดูกาลเพาะปลูกผู้ชายมักจะย้ายถิ่นไปทำงานนอกหมู่บ้าน
ลักษณะทางสังคม
ลัวะมีระบบการแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียว
โดยฝ่ายหญิงจะเข้าไปอยู่ฝ่ายชายและนับถือผีบรรพบุรุษฝ่ายชาย บุตรที่เกิดมาอยู่ในสวยเครือญาติของฝ่ายพ่อในครัวเรือนหนึ่ง ๆ
โดยทั่วไปประกอบด้วยสามี ภรรยา บุตร บุตรชายคนโตต้องไปสร้างใหม่เมื่อแต่งงาน บุตรชายคนสุดท้ายจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับมรดกและเลี้ยงดูพ่อแม่ตลอดชีวิตหน้าที่ในครัวเรือนจะแบ่งออกตามอายุ และเพศ กล่าวคือ ผู้หญิงมีหน้าที่รับผิดชอบหาฟืน ตักน้ำ
ตำข้าว ทำอาหาร และทอผ้า ผู้ชายมีหน้าที่ซ่อมแซมบ้าน ทำรั้ว ไถนา และล่าสัตว์ วนงานในไร่เป็นหน้าที่ของทั้งสองฝ่าย ต้องช่วยกันทำ รวมทั้งสมาชิกวัยแรงงานทุกคนในครอบครัวด้วย งานด้านพิธีกรรมถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้ชายเกือบทั้งหมด
ลักษณะบ้านเรีอน
มักตั้งอยู่บนภูดอย
บริเวณเทือกเขาสูงที่ขนานตัวสลับซับซ้อนกันในจังหวัดน่าน ระดับความสูงระหว่าง 2,500- 3,000 ฟุต ลักษณะบ้านเรือนจะเป็นเรือนไม้
มุงหญ้าคา ชายคายื่นโค้งลงมาแทบถึงพื้นดิน ยกพื้นสูง มีบันไดขั้นบ้าน
ตัวเรือนจะมีครัวไฟ และยุ้งข้าว และมีชานบ้านเชื่อมต่อถึงกัน
ครอบครัว โดยทั่วไปเป็นครอบครัวเดี่ยว
แต่บางครั้งก็มีครอบครัวขยาย ไม่นิยมแต่งงานกับคนนอกกลุ่ม
และห้ามแต่งงานกันในกลุ่มญาติสนิท หรือคนที่นับถือผีในตระกูลเดียวกัน
เมื่อแต่งงานส่วนใหญ่ฝ่ายชายจะเข้าไปเป็นสมาชิกในบ้านของฝ่ายหญิง
ช่วยทำมาหากินและเปลี่ยนมานับถือผีตามฝ่ายหญิง
อาหารการกิน นิยมกินข้าวเหนียวนึ่งใส่
“แอ๊บ” (กระติ๊ก)
ไว้กินทั้งสามมื้อ มีเกลือและพริก เป็นเครื่องชูรสที่ขาดไม่ได้
อาหารยอดนิยมคือน้ำปู เป็นเครื่องจิ้มสำหรับผักและข้าวเหนียว
ประเภทเนื้อสัตว์จะกินในโอกาสพิเศษ หรือยามเซ่นผี
การปกครอง
สังคมลัวะ ไม่มีตำแหน่งเฉพาะทางการปกครอง ไม่มีการตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ตัดสินกรณีพิพาก และรักษากฎระเบียบของหมู่บ้านโดยตรง แต่ให้ความเคารพเชื่อถือหัวหน้าทางความเชื่อถือของหมู่บ้านที่เรียก “สมัง” ให้เป็นผู้มีหน้าที่กระทำพิธีการต่าง
ๆ ในนามของหมู่บ้าน ตั้งแต่การเลือกที่ดิน
ทำไร่ของหมู่บ้านว่าดีหรือไม่ก่อนที่จะตกลงตัดไม้ การตัดสินกรณีแก่งแย่งที่ดิน ฯลฯ โดยพิธีเหล่านี้สมัง จะทำร่วมกับ “ลำ” หรือผู้นำทางด้านพิธีกรรมของแต่ละกลุ่มในหมู่บ้าน นอกจากนั้นก็มีผู้ช่วย ลำ ซึ่งเป็นผู้ที่อายุมากในกลุ่มรองจาก
ลำ เมื่อลำ คนเดิมเสียชีวิตลง ผู้ช่วยก็จะเป็นผู้ได้รับตำแหน่ง ลำ คนต่อไป
เศรษฐกิจ
ลัวะมีเศรษฐกิจแบบยังชีพ ขึ้นอยู่กับการทำไร่เลื่อนลอยแบบหมุนเวียนโดยจะปลูกข้าวเจ้าเป็นพืชหลัก ลัวะนิยมบริโภคข้าวเจ้ามากกว่าข้าวเหนียว และนิยมดื่มเหล้าที่ทำจากข้าวเจ้าอีกด้วย พืชอื่น ๆ ที่ปลูกแซมในไร่ข้าวสำหรับไว้เป็นอาหารและใช้สอยได้แก่ ข้าวโพด ถั่ว แตงกวา พริก ฝ้าย ผักต่าง ๆ
ส่วนสัตว์เลี้ยงได้แก่ วัว ควาย หมู ไก่ สุนัข เป็นต้น ซึ่งสัตว์เลี้ยงเหล่านี้บางชนิดก็ฆ่าสำหรับใช้เลี้ยงผี ผลิตผลทางเศรษฐกิจของลัวะ มีประมาณเพียงพอสำหรับบริโภคและขายในหมู่บ้านใกล้เคียงได้บ้าง เศรษฐกิจ มีลักษณะพอมีพอกินเลี้ยงตนเองได้ไม่เดือดร้อน มาตรฐานการครองชีพของลัวะ อยู่ในระดับปานกลาง ในอดีตปลูกข้าวเป็นรายได้ เช่น ปลูกท้อ เสาวรส ผักกาด กล่ำปลี มะเขือเทศ ถั่วแดง ถั่วลันเตา ทำให้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าเดิม บ้านที่เคยมุ่ง หลังคาด้วยหญ้าคาหรือใบตองตึง
ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นมุงด้วยกระเบื้องหรือสังกะสีกันมากแล้ว ส่วนสัตว์เลี้ยงก็ยังคงเลี้ยงไว้เพื่อใช้ในพิธีกรรมโดยการฆ่าแล้วนำไปเซ่นไหว้ผี เช่น พิธีด้านการเกษตร พิธีแต่งงาน พิธีไหว้ผีต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นจึงทำให้ลัวะไม่มีสัตว์เลี้ยงเหลือสำหรับขาย
ศาสนาและความเชื่อ
ลัวะนับถือพุทธศาสนาควบคู่กับการนับถือผีมาแต่เดิมเหมือนคนไทย
ลัวะมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนเป็นผู้สร้างวัดเจดีย์หลวงในจัดหวัด เชียงใหม่
และเสาอินทขิลคือที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษของพวกตนเมื่อลัวะถูกขับไล่ไป
อยู่บนภูเขา ซึ่งไม่มีพระและวัดชีวิตประจำวันจึงขึ้นอยู่กับสภาพทางธรรมชาติมากขึ้น
ความเชื่อในเรื่องพุทธศาสนาก็เริ่งจางลงและหันไปนับถือผีแทน
ลัวะเชื่อเรื่องผี
ว่ามีทั้งผีดีและผีเลวสิงสถิตอยู่ตามสิ่งต่างๆเป็นต้นว่าผีที่เฝ้าครอบครัว ผีฟ้า
ผีป่า ผีภูเขา ผีเข้าประตูหมู่บ้าน
ซึ่งบางครั้งผีอาจจะเป็นสาเหตุก่อความเจ็บป่วยให้แก่คนได้
การติดต่อกับผีจะติดต่อโดยการเซ่นด้วยอาหารที่ผีประเภทนั้นๆชอบโดยมีผู้ทำ พิธีคือ “ ลำ” และ “ สะมัง” หรือคนที่มีคาถาอาคม จะมีการเชิญผีมากินอาการ
การฆ่าสัตว์เลี้ยงผีจะจัดส่วนต่างๆ ของสัตว์ให้ผีอย่างละน้อย สัตว์ที่ใช้เซ่น
ผีมีไก่ หมู วัว ควาย และ หมา
นอกจากนี้
ลัวะยังเชื่อว่า คนมีวิญญาณ หรือขวัญ ๓๒ ขวัญ หากขวัญใดขวัญหนึ่งออกจากตัวไป
จะทำให้เกิดการเจ็บป่วย ต้องมีการประกอบพิธีกรรมเรียกขวัญให้กลับเข้ามาสู่ร่าง
โดยการผูกข้อมือด้วยด้ายสีขาว
เชื่อว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้ขวัญหายและไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
การรบพุ่งกัน (
เกร็ดความรู้ )
ในสมัยก่อน ไทยเราได้มีการรบพุ่ง และ
สู้รบกันกับ ประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง การสู้รบในสมัยนั้นยังไม่มีปืน
จะสู้กันแต่ดาบสองมือ และมือเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ การรบพุ่ง ก็มีการรบ ประชิดตัว
คนไทยเห็นว่าในสมัยนั้น การรบด้วยดาบ เป็นการรบพุ่งที่ประชิดตัว มากเกินไป
บางครั้ง คู่ต่อสู้อาจเข้ามา ฟันเราได้ง่าย คนไทยจึงได้ฝึกหัด
การถีบและเตะคู่ต่อสู้เอาไว้ เพื่อคู่ต่อสู้ จะได้เสียหลัก แล้วเราจะได้
เลือกฟันง่ายขึ้น ทำให้คู่ต่อสู้แพ้ได้ ต่อมาเมื่อในหมู่ทหารได้มีการฝึกถีบเตะแล้ว
ก็เกิดมีผู้คิดว่าทำอย่างไรจึงจะใช้การถีบเตะนั้น มาเป็นศิลปสำหรับ การต่อสู้
ด้วยมือได้ จึงต้องให้มีผู้ที่จะคิดจะฝึกหัดการต่อสู้ป้องกันตัว
สำหรับการใช้แสดงเวลามีงานเทศกาลต่าง ๆ ไว้อวดชาวบ้าน และเป็นของแปลก สำหรับชาวบ้าน
เมื่อเป็นเช่นนี้ นานเข้า ชาวบ้านหรือคนไทย ได้เห็นการถีบเตะ แพร่หลาย
และบ่อยครั้ง เข้า จึงทำให้ชาวบ้านมีการ ฝึกหัดมวยไทยกันมาก
จนถึงกับตั้งเป็นสำนักฝึกกันมากมาย แต่สำหรับที่ฝึกมวยไทยนั้น ก็ต้อง
เป็นสำนักดาบที่มีชื่อดีมาก่อน และ มีอาจารย์ดีไว้ฝึกสอน
ดังนั้นมวยไทยในสมัยนั้น จึงฝึกเพื่อความหมาย ๒ อย่างคือ
๑. เพื่อไว้สำหรับสู้รบกับข้าศึก
๒. เพื่อไว้ต่อสู้ป้องกันตัว
สมัยอยุธยาตอนต้น
ในสมัยนั้น คนไทย ที่ทำชื่อเสียง ให้กับประเทศในวิชามวยไทย มากที่สุด คือ
นายขนมต้ม ซึ่งได้ใช้วิชามวยไทย ต่อสู้พม่า ถึง ๑๐ คน และพม่าก็ได้
แพ้นายขนมต้มหมดทุกคน จนถึงกับกษัตริย์พม่า พูดว่า “คนไทยถึงแม้ว่าจะไม่มีดาบ แม้แต่มือเปล่า ก็ยังมีพิษสงรอบตัว”
ขุนพลลัวะและพระนางจามเทวี
( เหตุของการล่มสลายของชนเผ่าลัวะ
)
ในสมัยที่พระนางจามเทวีปกครองเมืองหริภุญไชยราว พ.ศ. ๑๓๐๐
ในสมัยนั้นเล่ากันว่า นครหริภุญไชยเป็นนครของชนชาติมอญ หรือเม็ง
และในขณะเดียวกันบริเวณเชิงดอยสุเทพเป็นที่ตั้งบ้านเมืองของชาวลัวะมี
ขุนหลวงวิรังคะเป็นเจ้าเมืองหรือหัวหน้า ขุนหลวงวิรังคะมีความรักในพระนางจามเทวี
มีความประสงค์จะอภิเษกกับพระนาง แต่พระนางไม่ปรารถนาจะสมัครรักใคร่กับขุนหลวงลัวะ
เพราะเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมต่ำกว่ามอญในสมัยนั้น
ขุนหลวงได้ส่งทูตมาเจริญไมตรีขอนางอภิเษกด้วย พระนางก็ผลัดผ่อนหลายครั้ง
โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ ได้แก่ ขอให้ขุนหลวงสร้างเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่และลักษณะคล้ายกับเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย
ให้ขุนหลวงพุ่งเสน้ามาตกที่ในเมือง พระนางจึงจะอภิเษกสมรสด้วขุนหลวงวิรังคะเป็นผู้ทรงพลังและชำนาญในการพุ่งเสน้า
(เสน้า หมายถึง หอกด้ามยาวมีสองคม)
ขุนหลวงพุ่งเสน้าครั้งแรกตกที่นอกกำแพงเมืองหริภุญไชยด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเรียกว่า
หนองเสน้าพระนางจามเทวีเห็นว่าจะเป็นอันตรายยิ่ง
ถ้าขุนหลวงวิรังคะพุ่งเสน้ามาตกในกำแพงเมืองตามสัญญา
พระนางจึงใช้วิชาคุณไสยกับขุนหลวงวิรังคะ
โดยการนำเอาเศษพระภูษาของพระนางมาทำเป็นหมวกสำหรับผู้ชาย
นำเอาใบพลูมาทำหมากสำหรับเคี้ยวโดยเอาปลายใบพลูมาจิ้มเลือดประจำเดือนของพระ นาง
แล้วให้ทูตนำของสองสิ่งนี้ไปถวายแด่ขุนหลวง
ขุนหลวงได้รับของฝากจากพระนางเป็นที่ปลาบปลื้มอย่างยิ่ง
นำหมวกใบนั้นมาสวมลงบนศีรษะ และกินหมากที่พระนางทำมาถวาย
ซึ่งของทั้งสองสิ่งนี้ชาวล้านนาถือว่าเป็นของต่ำ ทำให้อำนาจและพลังของขุนหลวงเสื่อมลง
เมื่อพุ่งเสน้าอีกครั้งต่อมาแรงพุ่งลดลงเสน้ามาตกที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ
ชาวบ้านเรียกว่า หนองสะเหน้า เช่นเดียวกัน ขุนหลวงเมื่อเสื่อมวิทยาคุณเช่นนั้น
ก็หนีออกจากบ้านเมืองไป ก่อนสิ้นชีวิต
ขุนหลวงวิรังคะได้ขอให้เสนาอำมาตย์นำศพของท่านไปฝังไว้ ณ
สถานที่ที่ขุนหลวง จะสามารถมองเห็นเมืองหริภุญไชยได้ตลอดเวลา
ทหารได้จัดขบวนศพของขุนหลวงจากเชิงดอยสุเทพขึ้นสู่บนดอยสุเทพเพื่อหาสถานที่
ฝังตามคำสั่ง ขบวนแห่ศพได้ลอดใต้เถาไม้เลื้อยชนิดหนึ่งเรียกว่า เครือเขาหลง
ซึ่งเชื่อว่าถ้าผู้ใดลอดผ่านจะทำให้พลัดหลงทางกันได้ ขบวนแห่ศพขุนหลวงได้พากันพลัดหลงกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง
นักดนตรีบางคนพลัดหลงไปพร้อมกับเครื่องดนตรีของตน
นิทานเล่าว่าภูเขาที่นักดนตรีผู้นั้นหลงจะปรากฏมีรูปร่างคล้ายเครื่องดนตรี นั้น ๆ
บนยอดเขาสุเทพ-ปุย จะมีภูเขาชื่อต่าง ๆ ดังนี้ ดอยฆ้อง ดอยกลอง ดอยฉิ่ง ดอยสว่า บางแห่งเป็นที่แคบและฝาครอบโลงศพปลิวตก
บริเวณนั้นเรียกว่า กิ่วแมวปลิว (คำว่า แมว หมายถึง
ฝาครอบโลงศพที่ทำด้วยโครงไม้ไผ่ใช้ตกแต่งด้านบนของฝาโลงศพ)เสนาอามาตย์ที่หามโลงศพของขุนหลวงได้เดินทางไต่ตีนเขาไปทางทิศเหนือ
ถึงบริเวณแห่งหนึ่ง โลงศพได้คว่ำตกลงจากที่หาม เสนาอามาตย์จึงได้ฝังศพของขุนหลวงไว้
ณ สถานที่บนภูเขาแห่งนี้ ซึ่งจะสามารถมองเห็นเมืองหริภุญไชยได้ตลอดเวลา
ยอดภูเขานี้ชาวบ้านเรียกว่า ดอยคว่ำหล้อง (หล้อง หมายถึง
โลงศพ)ปัจจุบันชาวบ้านยังเรียกชื่อภูเขาลูกนี้ว่า ดอยคว่ำหล้อง
ตั้งอยู่บนภูเขาบริเวณเหนือน้ำตกแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ยอดเขาเป็นรูปสี่เหลี่ยมตัดลักษณะคล้ายโลงศพ
บนยอดเขามีศาลของขุนหลวงวิรังคะตั้งอยู่ ชาวบ้านบริเวณเชิงเขาเล่าว่า
กลางคืนเดือนเพ็ญบางครั้งจะได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงบนยอดเขา
เชื่อกันว่าวิญญาณของขุนหลวงสถิตอยู่บนดอยคว่ำหล้องบริเวณเชิงเขา มีหมู่บ้านลัวะหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า
บ้านเมืองก๊ะ มาจากชื่อของขุนหลวงวิรังคะ เชื่อกันว่า
ชาวลัวะเหล่านี้เป็นเชื้อสายของขุนหลวงวิรังคะ ที่หมู่บ้านแห่ง
นี้มีศาลที่สถิตวิญญาณของขุนหลวง และทหารซ้ายและขวาของขุนหลวงอีก ๒ ศาล
ชาวบ้านจะเซ่นสรวงดวงวิญญาณขุนหลวงและทหารปีละครั้ง ชาวบ้านเล่าว่า
ดวงวิญญาณของขุนหลวงจะสถิตอยู่ ๓ แห่งได้แก่ บนดอยคว่ำหล้อง ศาลที่บ้านเมืองก๊ะ
อำเภอแม่ริมและอีกแห่งหนึ่งคือ บริเวณดอยคำ อำเภอเมือง
ซึ่งตั้งอยู่ทิศใต้ของดอยสุเทพ ปัจจุบันบนยอดดอยมีวัดชื่อว่า วัดพระธาตุดอยคำ
บนวัดแห่งนี้มีอนุสาวรีย์ขุนหลวงวิรังคะประดิษฐานที่ลานวัดใกล้เจดีย์
และที่ดอยคำแห่งนี้เป็นที่สถิตดวงวิญญาณของหัวหน้าลัวะซึ่งเป็นบรรพบุรุษของขุนหลวงวิรังคะ
ชื่อว่า ปู่แสะ ย่าแสะ ( ความเชื่อเรื่องใบพลู จากครั้นที่เจ้านางจามเทวี
นำใบพลูทำให้เวทมนต์ของขุนหลวงวิลังคะเสื่อม จึงเป็นที่มาของการที่ชาวลั๊วจะฉีกใบพูลทิ้งนิดหนึ่งตรงปลายก่อนจะเคี้ยวหมาก
เสมือนฉีกความชั่วร้ายหรือสิ่งที่ไม่ดีออกไป )
พิธีเลี้ยงดง
ปู่แสะย่าแสะ
ประวัติความเป็นมาของพิธีเลี้ยงดง
(ผีปู่แสะ ย่าแสะ) ความเชื่อเดิมเกี่ยวกับเรื่องผีปู่แสะและย่าแสะนี้
พอจะสันนิษฐานได้จากตำนานพระธาตุดอยคำ (สุทวารี สุวรรณภาชน์ ใน สงวน โชติสุขรัตน์, ๒๕๑๒)ว่า “ในสมัยพุทธกาล
พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ จนถึงที่ตั้งดอยคำนี้ได้พบยักษ์สามตน มีพ่อ แม่
ลูก คือ (ปู่แสะ ย่าแสะ และบุตร)
ยักษ์ทั้งสามตนนี้ยังชีพด้วยเนื้อสัตว์และเนื้อมนุษย์
เมื่อยักษ์ทั้งสามตนนี้เห็นพระพุทธเจ้ากับเหล่าสาวกเสด็จมา ก็จะจับกิน
แต่พระพุทธองค์ทรงแผ่เมตตา ยักษ์ทั้งสามเกรงในพระบารมีจึงน้อมเคารพพระพุทธองค์
จังเทศนา และขอให้ยักษ์ทั้งสามรักษาศีลห้าตลอดไป แต่ปู่แสะและย่าแสะไม่สามารถจะรับศีลห้าได้ตลอดไป
จึงอ้อนวอนขอกินเนื้อมนุษย์ปีละสองคน
แต่พระพุทธองค์เห็นว่าการฆ่ามนุษย์หรือสัตว์นั้นเป็นบาปหนักจึงไม่อนุญาต
ยักษ์ทั้งสองจึงขอเปลี่ยนเป็นเนื้อสัตว์ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุญาต
เป็นแต่ว่าให้ไปถามเจ้าผู้ครองนครดูว่าจะอนุญาตหรือไม่
แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จจากไป และทรงไว้พระเกศาธาตุไว้ที่พระธาตุดอยคำ
ยักษ์ทั้งสองตนผัวเมีย จึงได้ไปขออนุญาตจากเจ้าเมือง ๆ
ก็อนุญาตให้กินควายได้ปีละครั้ง จึงมีประเพณีเลี้ยงผีปู่แสะ ย่าแสะ
โดยพิธีการฆ่าควายเอาเนื้อสดสังเวยแต่นั้นมา ส่วนยักษ์ผู้เป็นบุตรนั้น
ในตำนานว่าเมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าก็มีจิตเลื่อมใสเป็นอันมากจึงขอบวชในพระพุทธศาสนา
และไปจำพรรษาอยู่บนดอยสุเทพ
แต่ต่อมาไม่อาจที่จะอยู่ในเพศบรรพชิตได้จึงลาสิกขาออกมาเป็นเพศโยคี
หรือฤาษีได้ชื่อว่าสุเทวะฤาษีบำเพ็ญพรตอยู่บนดอยสุเทพตราบสิ้นอายุขัย”ประเพณีเลี้ยงดง และพิธีบวงสรวงปู่แสะ ย่าแสะ
ในสังคมชนบทบ้านนอกมักมีประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างจากคนในเมืองโดยเฉพาะความเชื่อเรื่องผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประเพณีเลี้ยงผี
แสดงให้เห็นถึงการรู้จักตอบแทนผู้มีพระคุณ คือปู่ย่าตายาย
ทำให้ลูกหลานมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจทั้ง
นี้เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิตตามความเชื่อที่ว่าหากได้ทำแล้วจะทำ
ให้ชีวิตอยู่เย็นเป็นสุขไม่มีโรคภัยไม่มีเคราะห์กรรมทั้งตนเองและครอบครัว
ตลอดจนชุมชนด้วยนอกจากความเชื่อดังกล่าวการเลี้ยงผียังเป็นการสร้างความสามัคคีระหว่างญาติพี่น้องและชุมชนอีกด้วยประเพณีหรือวัฒนธรรมในแต่ละถิ่นจึงแตกต่างกันออกไปทุกช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
ที่ 4 เชิงดอยคำด้านทิศตะวันตก หมู่ 3 บ้านป่าจี้ ต.แม่ เหียะอ.เมือง จ.เชียงใหม่ จะมีชาวบ้านใน ต.แม่ เหียะ
และชาวเชียงใหม่หลายร้อยคนได้มารวมตัวกัน
เพื่อทำพิธีเลี้ยงดงปู่แสะย่าแสะก่อนพิธีจะเริ่มขึ้นมีการเตรียมจัดหาร่างทรง และ
กระบือดำหรือควายและจัดซื้อข้าวของบางส่วนสำหรับใช้ในการประกอบพิธีกรรมใน “ประเพณีเลี้ยงดง”ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวบ้านต้องฆ่าควายและผลไม้ต่างๆและสุราเพื่อถวายให้ผียักษ์ 2 ตน คือ ผีปู่แสะ และย่า โดยขั้นตอนของพิธีเริ่มจากการนำควายดำตัวผู้ที่มีลักษณะเขายาวเท่าหูจะถูกพามาเชือดที่บริเวณลานโล่ง
ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ดง”จากนั้นจะมีการ
แห่ผ้าบด ผ้าซึ่งเป็นภาพของพระพุทธเจ้า ปางห้ามญาติอายุเก่าแก่ประมาณ100ปีเข้ามาที่ดงเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าจากนั้นจะมีผู้เฒ่าผู้แก่เชิญวิญญาณผีปู่แสะย่าแสะและเหล่าบรรดาลูกๆอีก32ตนมาเข้าร่างทรงเพื่อให้มารับสิ่งของเครื่องเซ่นที่ลูกหลานเตรียมไว้ในพิธีซึ่งไม่เปิดเผยชื่อสลับกับเสียงพระสวดเมื่อผีปู่แสะและผีย่าแสะเข้าร่างทรงพร้อมด้วยบริวารแล้วผีทั้งหมดก็จะมากินเครื่องเซ่นที่เตรียมไว้โดยเฉพาะเนื้อควายและเลือดสดของควายที่เชือดกลางพิธีมากัดกินอย่างอร่อยท่ามกลางสายตาผู้มาร่วมงานในพิธีนับร้อยคนรวมของเซ่นอื่นๆด้วยร่างทรงจะกินจนอิ่มแล้วจะออกจากร่างไปถือว่าเป็นเสร็จพิธีพิธีเลี้ยงดงปู่แสะย่าแสะนี้ชาวอำเภอหางดง
จ.เชียงใหม่ปฏิบัติกันมานานร่วมร้อยปีติดต่อกันมาแล้วเพราะเป็นความเชื่อถือว่าหากผู้ใดได้เข้าร่วมพิธีแล้วจะรอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งปวงไม่ป่วยไม่เจ็บไม่ไข้นอกจากตัวเองจะมีความสุขในชีวิตแล้วชุมชนที่ตั้งอยู่โดยรอบจะมีความสงบสุไปด้วยไม่มีภัยพิบัติหรือโรคระบาดเพราะได้เลี้ยงหรือให้ทานกับผีปู่แสะย่าแสะซึ่งเป็นผียักษ์ที่ปกปักรักษาพื้นที่แห่งนี้อยู่ทั้งหมดเป็นความเชื่อของชาวบ้านในชุมชนจึงมีพิธีนี้ทำสืบต่อกันมานานร่วมร้อยกว่าปีแล้วหากมองย้อนภาพของความเป็นจริงทั้งหมดคือความเชื่อของชาวบ้านเท่านั้นแต่หากจะมองให้ลึกแล้วสิ่งที่ได้คือความสามัคคีที่เกิดขึ้นในชุมชนที่สำคัญที่สุดคือความสบายใจของชาวบ้านหากใจสบายกายก็จะสบายตามมาความสงบสุขของชีวิตย่อมเกิดขึ้นสุขกายสบายใจแค่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับการดำรงชีวิตในยุคนี้
เมืองน่าน” เมืองเล็กๆ ห่างไกลสุดชายแดนล้านนาตะวันออก
เมืองแห่งอ้อมกอดของขุนเขาน้อยใหญ่ อันเป็นจุดกำเนิดของสายน้ำน้อยใหญ่ รวมถึง “แม่น้ำน่าน” อันเป็นสายน้ำสำคัญที่ไหลรวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่หล่อเลี้ยงคนไทยมาช้านาน
เมืองสงบงาม ที่มีรากฐานทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
มีหลากหลายชนเผ่าที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ทั้งชนพื้นเมือง, ไทลื้อ, ไทพวน, ม้ง, เมี่ยน, ลัวะ, ขมุ, มูเซอ, ตองเหลือง,
ก่อ, เหาะ
ซึ่งแต่ละชนเผ่าก็มีเอกลักษณ์ทางภาษาวัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา
และวิถีการดำรงชีวิตของตนเองที่แตกต่างกันความแตกต่างในวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละชนเผ่าและแต่ละพื้นถิ่น
ทำให้มีวิถีการดูสุขภาพของตนเองและคนในชุมชนที่แตกต่างกันไปด้วย
บางอย่างเป็นภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพของตนเอง
แต่บางอย่างก็เป็นวิถีปฏิบัติที่ส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพ
ดังนั้นตามหลักปรัชญาการพัฒนาของในหลวง ที่ว่า “การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทีมสุขภาพจำเป็นต้องเข้าใจวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อให้สามารถเข้าถึงความต้องการของชุมชนและนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพตนเอง
ชาวถิ่น(ลัวะ) ตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในจังหวัดน่านของไทย
และบริเวณชายแดนแขวงสายะบุรีของประเทศลาว ชื่อ “ถิ่น” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้(บางครั้งเรียก “ข่าถิ่น” ) แต่ชนกลุ่มนี้จะเรียกกลุ่มของตัวเองว่า “ลัวะ” (Lua ) หรือ “พ่าย”
(Phay ) โดยแบ่งออกตามความแตกต่างของภาษาได้ 2
กลุ่มใหญ่ คือ ถิ่นไปรต์ และถิ่นมาลล์
ชาวถิ่นเป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุดในจังหวัดน่านแต่ในทางด้านวิชาการ เอกสารบางชิ้นได้ระบุว่า “ลัวะ”และ “ถิ่น”
ต่างมีภาษาที่เป็นของตนเอง
นอกจากนี้ยังมีลักษณะสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การสื่อภาษาของทั้ง ๒ เผ่า ไม่สามารถกระทำกันได้
ดังนั้นชาวเขาเผ่าถิ่นและชาวเขาเผ่าลัวะจึงเป็นคนละเผ่ากันและมีความแตกต่าง กัน
ประวัติความเป็นมา ชาวเขาเผ่าถิ่นซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบ ภูเขา
รอยต่อระหว่างจังหวัดน่านกับแขวงชัยบุรี ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น
มีประวัติความเป็นมาของเผ่าที่ยังไม่ชัดเจน
เนื่องจากชาวถิ่นไม่มีภาษาเขียนของตนเอง
จึงไม่มีการจดบันทึกประวัติความเป็นมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร
ซึ่งข้อสงสัยดังกล่าวแยกเป็น 2
แนวทาง คือชาวเขาเผ่าถิ่นเป็นชนชาติดั้งเดิมซึ่งตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทยก่อนแล้ว
และอีกแนวหนึ่งว่าอพยพมาจากประเทศลาว ซึ่งยังไม่สามารถยืนยันได้
นักวิชาการท่านหนึ่งได้เขียนไว้เมื่อปี พ.ศ. 2507
คาดคะเนว่าชาวถิ่นได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเมื่อ 40-80 ปีมาแล้ว อีกท่านหนึ่งได้เขียนไว้เมื่อปี พ.ศ. 2506
ว่าชาวถิ่นกลุ่มแรกได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2471
และยังได้คาดคะเนไว้อีกว่าชาวถิ่นอาจจะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อนที่คนไทยจะ
อพยพจากประเทศจีนมาอยู่ในแหลมอินโดจีนนี้เสียอีก บางท่านคาดว่าชาวถิ่น ได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2419 ในระยะนั้นอยู่ในช่วงที่พวกข่ากระด้างกระเดื่อง
และทางประเทศลาวได้ทำการปราบที่เมืองงอย (Muangngoi) จึงทำให้ชาวถิ่นอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาในภายหลังอีกกลุ่มหนึ่ง
จึงอาจจะเป็นไปได้ว่าชาวถิ่นได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้วกลุ่มหนึ่ง
และมีอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพตามมาในภายหลังซึ่งก็ใกล้เคียงกับที่พระวิภาค
ภูวดลได้เขียนไว้เมื่อปี พ.ศ. 2432 ว่าในระหว่างการสำรวจจัดทำแผนที่ประเทศไทย
ในขณะที่เข้าไปสำรวจยังเมืองเต้งได้พบกับชาวเขาหลายกลุ่ม “… เผ่าที่รู้จักกันดีมีขมุ
ขแม (Kame) ปาย (Pai) ละเม็ด (Lamet)
บิด (Bit) และฮก (Hok) ซึ่งครั้งหนึ่งพวกเหล่านี้เคยติดต่อแต่เฉพาะกับหลวงพระบาง
แต่หลังจากกบฎแล้วกว่า 20,000 คน
ได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานในเขตเมืองน่าน …” ซึ่งจากงานเขียนดังกล่าว
กลุ่มที่ชื่อว่า ปาย (Pai) น่าจะเป็นชาวถิ่นกลุ่มย่อย “ปรัย” ในปัจจุบัน
ประเพณีและวัฒนธรรมชนเผ่าลัวะที่เหลืออยู่
พิธีโสลด(ตีพิ): ตามรอยบรรพษุรุษถิ่นลัวะ ดอยสกาดอ.ปัว จ.น่าน
ประเพณี ตีพิ บ้านสกาด
ชาวบ้านจะต้องออกจากบ้านตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อเข้าป่าลึกเพื่อหาไม้ไผ่ (ไม้เฮี้ย)
ที่จะมาทำเครื่องดนตรีที่เรียกว่า
"พิ"โดยมีหมอผีประจำหมู่บ้านเป็นผู้กำหนด ระหว่างที่เดินทางจะเข้าป่า
จะไม่มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เพราะว่าถือว่าเป็นการอยู่กรรม
การไปตัดไม้มาทำพิ
เมื่อไปถึงป่าไม้ไผ่ที่เป็น
หมอผีจะเป็นผู้ลงมือตัดเป็นคนแรก จากนั้นชาวบ้านก็จะช่วยกันตัด
โดยจะเลือกไม้ไผ่ที่มีลำต้นตรงได้ที่ขนาดพอเหมาะ ตัดเป็นปล้องๆ
ส่วนใต้ข้อลงไปและเหนือข้อขึ้นไป ขนาดเกือบ 1
ฟุต
เมื่อได้ขนาดที่ต้องการตามที่กำหนด จะเจาะรูทั้งสองด้านของปล้องไม้ไผ่
แล้วเหลาไม้ยาวเท่าๆ ขนาดของปล้องไมไผ่ ใช้ เสียบทะลุตรงรูที่เจาะเหนือข้อปล้อง
โดยทิ้งปลายไม้ทั้งสองด้าน ปลายสไม้ส่วนที่สั้นใช้จับ และส่วนปลายไม้ที่ยาวกว่าเป็นส่วนที่ใช้เคาะ
เพื่อให้เกิดเสียง ชาวบ้านคนหนึ่ง จะต้องประกอบพิขึ้นมา ให้ได้ 3 อันก่อนที่จะมามารวมเป็นชุด (ชาวบ้านเรียกว่าจูม)
จะมีการเทียบเสียงของพิซึ่งพิแต่ละอันจะมีระดับของเสียงและความสั้นยาวที่ต่างกันโดยใช้ไม้เคาะส่วนปลายไม้ที่ยาวกว่า
เพื่อให้เกิดเสียง และความไพเราะ หากไม่ได้ตามต้องการ จะค่อย ตัดปลายไม้ออก
จนกว่าจะได้เสียงที่ดีและไพเราะเมื่อได้ตามต้องการ
ชาวบ้านจะทำต่อแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ
ทำการเปรียบเสียง
ชาวบ้านที่เข้าป่าไปเอาพิ
มีจำนวนร่วมสองร้อยคน ฉะนั้นเมื่อถึงเวลาที่เทียบเสียงพิที่ทำขึ้นมา
เสียงเคาะจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่งเมื่อทำเสร็จก็จะส่งเสียงพร้อมๆ
กันจนเสียงเประห์จะดังก้องกังวานไปทั้งหุบเขา
การเอาพิออกจากป่าหลังจากที่ทุกคนได้พิ ตามต้องการ จะมีหมอผี
ชาวบ้านเรียกว่าข้าวจ้ำ เป็นผู้นำขบวนออกจากป่า
เปรียบเสมือนผู้คอยควบคุมขบวนดังกล่าว จะเดินหรือจะหยุดก็ขึ้นอยู่กับท่านผู้นี้
บุคคลที่ร่วมขบวนห้ามแซงหรือแตกขบวนโดยเด็ดขาด
เมื่อถึงเวลาที่กำหนดชาวบ้านจะพากันเดินเป็นขบวนยาว ข้าวจ้ำพักตรงไหน หยุดตรงไหน
ขบวนแถวก็จะหยุดตาม และจะตีพิกันในระหว่างพัก
เมื่อได้เวลาหมอผีก็พาเดินจนถึงหมู่บ้านตามเส้นทางที่บรรพษุรุษเคยปฏิบัติกันมา
จนถึงบ้านพิหลวง คือบ้านหลังที่เตรียมจัดไว้เพื่อรอรับชาวบ้นที่ไปเอาพิมาจากป่า
ทุกคนส่งพิที่ได้มาเก็บลงตะกร้า และร่วมดื่มกินฉลองกันในเย็นวันนั้น
ที่บ้านพิหลวงนั่นเอง ปีนี้ประเพณี ตีพิ
ที่จัด ขึ้นเป็นเวลา 7 วัน ระหว่างวันที่ 14
– 21 สิงหาคม 2558
#การตีพิในประเพณีกินโสลดพี่น้องลั๊วะ#ตำบลสกาด#อำเภอปัว#จังหวัดน่าน
*หมายเหตุ* พิ
คือเครื่องดนตรีของชาวลัวะที่ทำขึ้นเล่นเฉพาะในงานโสลดนี้เท่านั้น
ประเพณีนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเลี้ยงขวัญข้าวเลี้ยงผีประจำหมู่บ้าน
ในช่วงหลังการเพาะปลูกพืชไร่ ระยะเวลาในการจัด7วัน7คืนและจะยู่ในช่วงเดือนสิงหาของทุกปี ดอยดอกเมี่ยง ณ สกาด
*การเดินทาง* จากน่าน-ท่าวังผา-ปัว60 กม. ถึงอำเภอปัวไปตามถนน ปัว-เชียงกลาง-ทุ่งช้าง(1080 ) ประมาณ 5 กม. สังเกตุขวามือหน้า อบต.สถาน
มีทางแยกให้เลี้ยวขวามือไปตามเส้นทางถึง บ้านนาฝางประมาณ 3 กม.
มีทางแยกร่วม ให้เลี้ยวซ้ายมือไปตามเส้นทาง ไปตำบลสกาดอีกประมาณ 12 กม.
การเลี้ยงผีปู่ผีย่า
ผีปู่ย่า เป็นผี
หรือวิญญาณของบรรพบุรุษที่ได้ รับการยกย่อง
นับถือจากชาวบ้านว่ามีความเก่งกล้าสามารถเป็นที่เกรงขาม แก่ภูตผี ปีศาจ ทั่ว ๆ ไป
ผีปู่ย่าจะช่วยรักษาบ้านเรือนและปกป้องลูกหลานที่นับถือ ให้อยู่อย่างปลอดภัย จากการคุกคามทำร้ายของภูตผีอื่นๆ
ตลอดจนคอยช่วยเหลือให้ผ่านพ้นจากปัญหาอุปสรรค ความทุกข์ใจที่แผ้วพานเข้ามาในชีวิต
ได้โดยง่ายในหมู่บ้านแต่ละแห่งผู้คนในแต่ละครอบครัว อาจมีการนับถือผีคนละตน
ที่สิงสถิตของผีปู่ย่าจะอยู่ที่ “ หอ ” ซึ่งสร้างลักษณะคล้ายบ้านชั้นเดียว
ยกพื้นสูงมีฝารอบ 3 ทิศ ไม่มีการแบ่งเป็นห้อง ลูกหลานสามารถขึ้นไปนั่งทำพิธีได้
โดยบนหอจะมีแท่นสำหรับวางขันตั้ง ซึ่งเป็นขัน สำหรับบูชาผีปู่ย่า
หอผีปู่ย่านี้จะอยู่ในหมู่บ้านไม่ไกล จากบ้านลูกหลานมากนัก
ซึ่งถ้าเป็นเวลาปกติไม่มีการลงผี ก็จะไม่มีใครไปยุ่งเกี่ยวกับหอผีนี้ เวลาในการทำพิธีเลี้ยงผีปู่ย่าแต่ละตนอาจกำหนด
แตกต่างกันไป แต้ถ้าเป็นผีกลุ่มเดียวกัน
เป็นผีพี่น้องหรือเป็นเพื่อนรักชอบพอกันจะมาทำพิธีร่วมกัน
ซึ่งส่วนใหญ่จะทำพิธีเลี้ยงผีปู่ย่าปีละ 1 ครั้ง
ในช่วงสงกรานต์หรือที่ทางภาคเหนือเรียกว่า ปีใหม่ แต่บางตนจะมีพิธีการเลี้ยงหลายครั้งเช่น
ก่อนเข้าพรรษา หลังออกพรรษา หรือ เมื่อมีการบนบานบอกกล่าว
แล้วเป็นไปตามที่ขอก็จะมีการเลี้ยงเหมือนการเลี้ยงแก้บน
การเลี้ยงในช่วงปีใหม่จะมีพิธีการดำหัวผีปู่ย่าควบคู่กันไปด้วย
เป็นการขออภัยในสิ่งที่ลูกหลานได้ล่วงล้ำก้ำเกิน และขอความคุ้มครองจากผีปู่ย่า
โดยจัดเตรียมสิ่งของนำไปประกอบพิธีได้แก่
หัวหมู ไก่ต้ม ข้าวสุก ผลไม้ เหล้าขาวธูป 8 ดอก ดอกไม้ โดยมีขั้นตอนการทำพิธี
เช่นเดียวกับการทำในช่วงปีใหม่ แต่ไม่มีการดำหัว บางครั้งการเลี้ยงผี
อาจไม่จำเป็นต้องมีการเข้าทรง โดยอาจเป็นการแก้บนของลูกหลานซึ่งทำได้โดยการจัดเตรียมสิ่งของเครื่องเซ่น ไปถวายยังหอผีปู่ย่า
นำไม้ไผ่ยาวที่อยู่บนหอมาวัดวาและ ทำเครื่องหมาย ไว้แล้วจุดธูปบอกกล่าว
นั่งรอสักครู่ นำไม้ไผ่มาวัดวาอีกครั้ง ถ้าการวัดวา
ครั้งหลังนี้ได้ความยาวมากกว่าครั้งแรก เป็นการรับรู้ว่าผีปู่ย่าได้รับเครื่องเซ่น
สังเวยแล้ว เป็นเสร็จพิธี
การซื้อผี-ขายผีในล้านนา
เงินค่าผีคนล้านนามาจากตำนานซื้อผีจากชาวลัวะ เอิ้ว...ซื้อผีบ๋อ.....เอิ้ว...มีผีมาขายเน้อ
ไผจะซื้อผีมาซื้อเน้อ....... เสียงชาวลัวะเอิ้นตะโกนบอกชาวบ้านที่สนใจมาซื้อผีเอาไว้รักษาบ้านเรือน
เอาไว้เป็นผู้ปกปักรักษาคนในครัวเรือน
โดยแต่ละผีจะให้คุณแตกต่างกันไปเริ่มตั้งแต่
-ผีปู่ย่า หากใครซื้อผีนี้ไว้จะทำให้ลูกหลาน ญาติพี่น้องอยู่ดีมีสุข เกิดความรักใคร่สามัคคีกัน
ญาติพี่น้องลูกหลานเครือญาติทุกคนจะมารวมกัน เกิดความอบอุ่นในวงค์ตระกูล
-ผีกะ หรือผีปอบ หาก ใครซื้อผีนี้จะทำให้วงค์ตระกูลเป็นคนขยันหากินไม่เลือกว่าจะค่ำมืด
กลางวันกลางคืนก็จะหากินไม่หยุดหย่อน มักเป็นผู้มีเงินเพราะความขยัน
-ผีมดผีเม็ง หากใครซื้อผีนี้จะส่งผลให้วงค์ตระกูลมีความสุขสนุกสนานดังนั้นวงค์ตระกูลของผู้ที่มีผีนี้รักษา
ก็จะกำหนดพิธีกรรมในวันที่ไหว้ผีในรอบปีญาติๆวงค์ตระกูลก็มาฟ้อนบวงสรวง เรียกกันว่าพิธีกรรมการฟ้อนผีมดผีเม็งทำให้ญาติพี่น้องวงค์ตระกูลสนุกสนานรื่นเริง
-ผีปู่ย่า หากใครซื้อผีนี้ไว้จะทำให้ลูกหลาน ญาติพี่น้องอยู่ดีมีสุข เกิดความรักใคร่สามัคคีกัน
ญาติพี่น้องลูกหลานเครือญาติทุกคนจะมารวมกัน เกิดความอบอุ่นในวงค์ตระกูล
-ผีกะ หรือผีปอบ หาก ใครซื้อผีนี้จะทำให้วงค์ตระกูลเป็นคนขยันหากินไม่เลือกว่าจะค่ำมืด
กลางวันกลางคืนก็จะหากินไม่หยุดหย่อน มักเป็นผู้มีเงินเพราะความขยัน
-ผีมดผีเม็ง หากใครซื้อผีนี้จะส่งผลให้วงค์ตระกูลมีความสุขสนุกสนานดังนั้นวงค์ตระกูลของผู้ที่มีผีนี้รักษา
ก็จะกำหนดพิธีกรรมในวันที่ไหว้ผีในรอบปีญาติๆวงค์ตระกูลก็มาฟ้อนบวงสรวง เรียกกันว่าพิธีกรรมการฟ้อนผีมดผีเม็งทำให้ญาติพี่น้องวงค์ตระกูลสนุกสนานรื่นเริง
เมื่อพ่อค้าชาวลัวะมาขายผีตามหมู่บ้าน
ผู้คนพื้นเมืองที่ต้องการซื้อผีต่างก็ซื้อผีคือสวย (กรวย) ดอกไม้เป็นสินค้าแทนผี
เมื่อซื้อแล้วก็นำสวยดอกไม้ไปไว้ในที่ๆลัวะบอกกล่าว คือ
>>> ผีปู่ย่าให้นำสวยไปไว้ในห้องเรือนใหญ่หนึ่งแห่งและทำหอผีปู่ย่าไว้ที่บริเวณในรั้วบ้านอีกหนึ่งแห่งส่วนราคาตามแต่จะตกลงกัน
เช่น อาจเป็น ๓๒ แถบ ๔๕ แถบ เป็นต้น ส่วนใครซื้อ
>>> ผีกะต้องนำสวยดอกไม้ไปไว้ในหม้อเลี้ยงผี นำหม้อไปวางไว้บนเพดาน เพื่อให้ผีกะได้อยู่ในหม้อ ไม่ออกไปทำร้ายใคร ราคาผีก้ะ อาจเป็น ๑๒ แถบ ๒๕ แถบ แล้วแต่จะตกลงกัน
>>> ผีมดผีเม็งก็จะต้องนำสวยดอกตัวแทนผีไปไว้ในหิ้งผีบนบ้านในห้องนอน แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเลี้ยงปีละ หนึ่งครั้งหรือสองสามปีครั้งแล้วแต่จะตั้งเงื่อนไขกันไว้ ในการเลี้ยงจะต้องมีดนตรีบรรเลงให้เกิดความม่วนงัน สนุกรื่นเริง ราคาผีมดผีเม็งอาจเป็น ๓๖ บาท ๑๒ บาทแล้วแต่ความพอใจ
เช่น อาจเป็น ๓๒ แถบ ๔๕ แถบ เป็นต้น ส่วนใครซื้อ
>>> ผีกะต้องนำสวยดอกไม้ไปไว้ในหม้อเลี้ยงผี นำหม้อไปวางไว้บนเพดาน เพื่อให้ผีกะได้อยู่ในหม้อ ไม่ออกไปทำร้ายใคร ราคาผีก้ะ อาจเป็น ๑๒ แถบ ๒๕ แถบ แล้วแต่จะตกลงกัน
>>> ผีมดผีเม็งก็จะต้องนำสวยดอกตัวแทนผีไปไว้ในหิ้งผีบนบ้านในห้องนอน แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเลี้ยงปีละ หนึ่งครั้งหรือสองสามปีครั้งแล้วแต่จะตั้งเงื่อนไขกันไว้ ในการเลี้ยงจะต้องมีดนตรีบรรเลงให้เกิดความม่วนงัน สนุกรื่นเริง ราคาผีมดผีเม็งอาจเป็น ๓๖ บาท ๑๒ บาทแล้วแต่ความพอใจ
ตั้งแต่ผู้คนได้ซื้อผีที่ตนเองต้องการมาไว้คุ้มครองบ้าน
ทำให้ผีมีบทบาทในวิถีชีวิตคนในครอบครัวกันมาก
หากใครเข้าบ้านเรือนโดยไม่บอกเจ้าบ้าน หรือเข้าไปในห้องนอนถือว่าผิดผี
ต้องถูกปรับไหมเท่าราคาค่าผีที่บ้านนั้นซื้อมา เช่น ถ้าซื้อสวยผีมาจำนวน ๓๒ แถบ
ก็ต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน ๓๒ บาท เท่าเงินซื้อผี
ที่สำคัญคือผีจะปกป้องลูกสาวในครอบครัวนั้น หากใครจับมือ ถือแขน ถูกต้องเนื้อตัว
ล่วงเกินผู้หญิงในครองครัวนั้นๆก็ต้องถูกปรับเสียค่าผี
ตามราคาที่บรรพบุรุษได้ซื้อสวยผีมาไว้ครั้งแรก
แหล่งอ้างอิง
https://www.gotoknow.org/posts/333307 เว็บออนไลน์ 20-08-2559 11:25 น.
http://www.openbase.in.th/node/3448 เว็บออนไลน์ 20-08-2559 11:25 น.
http://www.hugchiangkham.com/%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B0/ เว็บออนไลน์ 20-08-2559 11:25 น.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)